วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

คุณธรรม จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา


การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้  ดูน่าเป็นห่วง   อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ   ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม  จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง  ข้าราชการ  หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ  ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ  การทุจริตคอรัปชั่น  การก่ออาชญากรรม   การเสพและการค้ายาเสพติด  ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา  รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทางเพศ ของนักศึกษาหญิง   การขายบริการทางเพศของนักศึกษา   การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน  เหล่านี้เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า  เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน  คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย  ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข    มีรายงานผลการสำรวจของผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวพนักงานเอง  พบว่า  17 % ถูกให้ออกงานเพราะ ขาดทักษะความรู้และประสบการณ์     83 %  ถูกออกจากงานเพราะปัญหาเรื่อง ความประพฤติ และบุคลิกภาพ   ในขณะเดียวกันมีผู้ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ในหน่วยงาน  องค์กร  สถาบันต่างๆ พบว่า   ผู้ประกอบการส่วนมากต้องการบัณทิต ที่มีคุณลักษณะดังนี้      ขยัน       ประหยัด       ซื่อสัตย์       อดทน       เสียสละ   และ มีความรับผิดชอบ    ซึ่งปรากฏการณ์ในสังคม    ดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง  มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม นั่นเอง
 
จะปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษาได้อย่างไร
จริยธรรม  เป็น  หลักความประพฤติ  หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน  ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ  เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ     การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน     คุณธรรม  เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ    ศีลธรรม  เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ   ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา   ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร   คือ  เป็นตัวกำหนดจริยธรรม      จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ   วัฒนธรรม   ประเพณี  และกฎหมาย
ศาสตราจารย์  นพ.เชวง  เตชะโกศยะ ให้แนวคิดในเรื่องการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้กับเยาวชน เอาไว้ว่า  คนเราถ้าไม่มีความรู้สึกผูกพันต่อ พ่อ แม่  ต่องานต่อแผ่นดิน  และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเขา  จะสอนเท่าไดก็คงไม่มีประโยชน์  เพราะเขาจะเกิดความสำนึกในหน้าที่  ในคุณค่าของชีวิต  คุณค่าของความเป็นมนุษย์  ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะแม้ชีวิตของเขาเอง  เขาก็ไม่รับผิดชอบเสียแล้ว เขาจะไปรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาที่ต้องทำความดีและให้ความดีแก่สังคมที่ได้รับประโยชน์ได้อย่างไร  ดังนั้น คุณธรรม  จริยธรรม  จึงเป็นตัวผล ที่จะต้องสร้างด้วยเหตุ  คือ  ให้ความรู้  ความเข้าใจแก่เขาเป็นอย่างดีนั่นเอง  และมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย   การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  จำเป็นต้องมีครู 3 สถานะ  เป็นต้นเหตุ  คือ  ครูที่บ้าน  ครูที่โรงเรียน / สถานศึกษา  และครู  ที่เป็นคำสอนในศาสนา    เพราะบุคคล 3  จำพวกนี้  ซึ่งหมายถึง    1. บุพการี      2. ครู   3. พระสงฆ์   เท่านั้น ที่อยากเห็นบุคคลอื่นได้ดี     ถ้าขาดเหตุ หรือ เหตุ ไม่ครบถ้วน   ผลคือ  คุณธรรม และ จริยธรรม  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือไม่สมบูรณ์นั่นเอง   เรามักจะเอาผลกลับมาเป็นเหตุ  คือ  เอา จริยธรรม  หรือศีลธรรม  ไปสอนเขาโดยตรง   จริยธรรม  ศีลธรรม และ คุณธรรมอื่นๆ  ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้  หรือ มีขึ้นได้น้อยเต็มที

0
ฯพณฯ พลเอกวิจิตร  กุลวณิชย์  องคมนตรี ได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมปัจจุบันเอาไว้ตอนหนึ่งว่า  เป็นเพราะคนไทยไม่รักแผ่นดินเกิด  ท่านขอร้องให้ ครู - อาจารย์  ไปสอนลูกศิษย์ว่า   ตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน ให้มองหน้าตนเองในกระจก แล้วตั้งคำถาม   ถามตนเอง  3 ข้อ ( ให้ตอบด้วยความจริงใจ )
1.  ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ เราเคยทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์ต่อ  แผ่นดินเกิดบ้าง
2.  ถ้ายังไม่เคยทำ   ให้ถามตนเองต่อว่า  แล้วจะเริ่มเมื่อไหร่   เช่น เมื่อถึงวันเกิด  วันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น
3. ถ้าไม่เคยทำและยังไม่คิดจะทำ   ดังข้อ 1  และ ข้อ 2   ให้ถามตน   เองอีกว่า   ช่วงชีวิตที่ผ่านมา  เคยทำอะไรที่เป็นผลเสียหาย ต่อ
แผ่นดินเกิดบ้าง และจะเลิกเมื่อใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น